วันนี้ KT เราจะมาแนะนำวิธีอ่านค่าสายตาสำหรับคนที่กำลังเริ่มมีค่าสายตา

วิธีอ่านค่าสายตาวันนี้ KT เราจะมาแนะนำวิธีอ่านค่าสายตาสำหรับคนที่กำลังเริ่มมีค่าสายตา
ทำความเข้าใจค่าสายตา ไม่ยากอย่างที่คิด
เมื่อได้รับใบค่าสายตาหลังจากตรวจวัดตาเสร็จแล้ว เราก็จะได้ทราบค่าสายตาว่าเป็นอย่างไร สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง
แต่การพยายามทำความเข้าใจกับตัวเลข ซึ่งเต็มไปด้วยตัวย่อ และตัวเลขค่าการวัดต่างๆ แต่ละค่ามีความหมายอย่างไร

เรามาดูกันว่าค่าสายตาที่ได้มานั้น อ่านเป็นค่าสายตากันอย่างไรบ้าง
กับคู่มือการอ่านค่าสายตาอย่างย่อ เพื่อให้คุณทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
– สายตาสั้น (Nearsightedness or myopia) มองใกล้ชัดมองไกลไม่ชัด แก้ไขด้วยเลนส์เว้าหรือเลนส์ลบ
– สายตายาวแต่กำเนิด (Farsightedness or hyperopia) มองไกลชัด มองใกล้ไม่ชัดหรือมีปัญหาในการมองใกล้ แก้ไขด้วยเลนส์นูนหรือเลนส์บวก
– สายตาเอียง (Astigmatism) ทั้งไกลและใกล้ ไม่เบลอ ไม่ชัด แก้ไขได้ด้วยเลนส์เอียง หากสายตาเอียงเกิดร่วมกับสายตาสั้นหรือสายตายาวจะแก้ไขด้วยเลนส์ชนิด Spherocylinder
ตัวย่อ   :   ผู้เชี่ยวชาญทางสายตา มักชอบใช้ตัวย่อเพื่อความสะดวกในการเขียนใบค่าสายตา ซึ่งตัวย่อทั้งหลายนั้น มีที่มาจากภาษาละติน
ตัวย่อ OS มาจากคำว่า Oculus Sinister
และ OD มาจากคำว่า Oculus Dester
คำว่า Oculus แปลว่า ตา , Sinister แปลว่าซ้าย และ Dester แปลว่าขวา
เมื่อพูดถึงตาทั้งสองข้าง ศัพท์ภาษาละติน คือ Oculus Uterque หรือตัวย่อว่า OU

ซึ่งจะสามารถสรุปย่อเพื่อให้ง่ายขึ้นในการทำความเข้าใจ และจดจำ ดังนี้

LE หรือ OS (ตาซ้าย) : หมายถึงค่าสายตาข้างซ้าย
RE หรือ OD (ตาขวา) : หมายถึงค่าสายตาข้างขวา

SPH ย่อมาจาก Sphere (ค่าระดับสายตาสั้นหรือยาว) : ความสามารถของเลนส์ในการหักเหแสง
ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายลบ [ – ] = สายตาสั้น
ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายบวก [ + ] = สายตายาว
สายตายาว (ปัญหาในการมองวัตถุในระยะใกล้) เป็นตัวเลขบวก หรือตัวเลขที่ไม่มีเครื่องหมายบวกหรือลบ
ถ้าตัวเลขเป็นค่าลบ หมายถึงสายตาสั้น (ไม่สามารถมองวัตถุระยะไกลได้ชัด)

CYL ย่อมาจาก Cylinder (ค่าสายตาเอียง) : ค่าตัวเลขที่แก้ไขสายตาเอียง
ค่าสายตาเอียง และค่ากำลังของเลนส์ที่คนนั้นต้องการเพื่อแก้ไขสายตาเอียง หมายถึงการที่กระจกตาซึ่งอยู่ด้านหน้าของลูกตาผิดรูป หรือเลนส์ตาที่อยู่ด้านหลังไม่โค้งและทำให้แสงตกกระทบไม่ตรงจุด หรือทั้งสองสาเหตุ ซึ่งทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขโดยการสวมแว่นตา ดังนั้น CYL จึงเป็นค่าสายตาอีกตัวหนึ่งในการแก้ไขสายตา

AX ย่อมาจาก Axis ค่าองศาที่เอียง
      < R > = ค่าสายตาข้าง ‘ขวา’
      < L > = ค่าสายตาข้าง ‘ซ้าย’
ค่าระบุองศาของสายตาอียง ใช้ตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 180 โดยที่เลข 90 หมายถึงเส้นตั้งฉากกับดวงตา และ 180 หมายถึงเส้นขนาน ค่าสายตาอีกตัวหนึ่งคือ prism ซึ่งอาจเห็นได้บนใบค่าสายตา ใช้ในการปรับแนวของตา แต่พบได้ไม่บ่อย

Diopters : ไดออปเตอร์ คือหน่วยวัดกำลังของเลนส์

ADD Measurement : คือการเพิ่มกำลังเลนส์บวกเพื่อการอ่าน และสัมพันธ์กับปริมาณการแก้ไขเพิ่มเติม ที่ต้องการสำหรับการโฟกัสระยะใกล้ค่ากำลังสายตา ADD อาจเห็นได้ในใบค่าสายตาสำหรับเลนส์สองชั้น ซึ่งใช้แก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุ แทนที่จะต้องสั่งตัดแว่นต่างหากอีกอันเพื่อใช้สำหรับอ่านหนังสือ เลนส์สองชั้นจะมีเลนส์แยกกันสองชั้น ชั้นหนึ่งสำหรับมองใกล้ และอีกชั้นเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟสำหรับมองไกล หรืออีกนัยหนึ่งคือการไล่ระดับความโค้งของเลนส์นั่นเอง เลนส์ชนิดนี้อาจต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับสายตาให้ชิน แต่ผู้ป่วยหลายรายชอบเลนส์แบบนี้มากกว่า และรู้สึกว่าใส่สบาย

ใบบันทึกอาจพบค่าอื่นๆ เช่น
–    VD หมายถึง cornea vertex distance ระยะห่างจากกระจกตาถึงเลนส์แว่นตา  ( มิลลิเมตร )
–    PD หมายถึง interpupillary distance at distance ระยะห่างของกึ่งกลางตาทั้งสองข้างขณะมองไกล  ( มิลลิเมตร )
–    R1, R2 หมายถึง รัศมีความโค้งของกระจกตาที่บอกเป็นหน่วยมิลลิเมตร, หน่วย diopter และองศา
–    SE หมายถึง Spherical equivalent ค่าสายตาสั้นหรือยาวที่ได้คำนวณชดเชยค่าสายตาเอียงที่มีทั้งหมด
–    NPD หมายถึง interpupillary distance at near ระยะห่างของกึ่งกลางตาทั้งสองข้างขณะมองใกล้ที่ได้จากการคำนวณ เช่น 60 มิลลิเมตร ที่ระยะอ่านหนังสือ 40 เซนติเมตร

สำหรับค่าสายตาที่ได้จากเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ มักจะใช้เป็นเพียงค่าอ้างอิงเพราะวิธีวัดแบบนี้มีข้อด้อยหลายอย่าง เช่น
–    ไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบเพ่งได้
–    ไม่สามารถทำสมดุลการใช้ระบบเพ่งของตาทั้งสองได้
–    ผู้ถูกวัดไม่มีส่วนร่วมหรือไม่ได้วัดความสามารถในการมองเห็นที่แท้จริง เป็นต้น

ดังนั้น ค่าสายตาที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ จึงต้องทำการวัดเพิ่มเติมด้วยระบบ KTAC 15 ขั้นตอน ร่วมกับการสวมแว่นทดลอง ( Trial Frame ) เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองใส่เลนส์ตามค่าสายตาจริงที่ถูกต้อง

ค่าสายตาสำหรับคอนแทคเลนส์
สำหรับการใส่คอนแทคเลนส์ จะต้องได้รับการฟิตติ้งให้พอดีกับดวงตาโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ค่าสายตาสำหรับคอนแทคเลนส์ใช้ตัวย่อบางตัวเหมือนกับแว่นตา แต่มีหลักคำนวณค่าสายตาที่ต้องแก้ไข เพราะคอนแทคเลนส์จะอยู่ชิดกับดวงตามากกว่าเลนส์แว่นตาที่ห่างออกไป 2-3 นิ้ว

เพราะ . . . สุขภาพสายตาของแต่ละคนแตกต่างกัน

ทุกท่านสามารถเข้ารับบริการการตรวจวัดสายตาด้วยเทคโนโลยีที่แม่นยำและทันสมัยที่สุดระดับโลกอย่างระบบ KTAC ที่มีความละเอียดมากถึง 15 ขั้นตอน พร้อมด้วยการให้บริการและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดโดย Style advisor หรือพนักงานผู้เชี่ยวชาญประจำสาขา KT OPTIC ได้เลยค่ะ  เพื่อประสิทธิภาพการมองเห็นที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

 

Copyright © 2017. KT OPTIC All rights reserved.