ตาบอดสีคืออะไร และวิธีการทดสอบตาบอดสี เราลองมาหาคำตอบกัน

ตาบอดสีคืออะไร ?

 ตาบอดสี หมายถึง ภาวะความบกพร่องในการมองเห็นสีบางสี สับสนในการแยกสีต่างๆ ว่าสีอะไรเป็นสีอะไร คนที่เป็นตาบอดสีส่วนมากจะสับสนในการแยกความต่างระหว่างเฉดสีแดงและสีเขียว ในขณะที่บางรายไม่สามารถแยกความต่างระหว่างสีฟ้าและเหลือง ภาวะตาบอดสีพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในประชากรทั่วโลก เพศชายทุก 12 คน เป็นตาบอดสี 1 คน และเพศหญิงทุก 200 คน เป็นตาบอดสี 1 คน

 

ปัญหาในการมองเห็น
ภาวะตาบอดสี จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น หากต้องขับรถ แต่ไม่สามารถแยกสีสัญญาณไฟจราจรได้ ในกรณีที่เป็นไม่มาก คนที่เป็นตาบอดสีบางคนพบว่าตัวเองเป็นโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น เมื่อเพื่อนชมชุดสีแดงว่าสวย แต่คนใส่คิดว่าเป็นสีน้ำตาล ซึ่งอาจจะน่าตกใจสำหรับคนที่เพิ่งรู้ตัวว่าสิ่งต่างรอบตัว จริงๆ แล้วไม่ได้มีสีสันอย่างที่เคยคิด ในกรณีนี้ ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสายตา

 

สาเหตุของการตาบอดสี
ภาวะตาบอดสี เกิดจากความบกพร่องเซลล์รับสีที่อยู่ในดวงตา ที่บริเวณด้านหลังของจอตาจะมีเซลล์ประสาทที่มีความไวในการรับแสง คือ เซลล์รูปกรวย และเซลล์รูปแท่ง ในเซลล์รูปกรวยจะมีเซลล์รับสี (Photopigments) ซึ่งมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นต่างๆ กัน เมื่อเซลล์รูปกรวยมีเซลล์รับสีปกติ การมองเห็นสีก็ปกติ แต่หากมีเซลล์รับสีที่ผิดปกติไปแม้เซลล์เดียว การรับรู้สีก็จะผิดเพี้ยนไปด้วย ในกรณีที่ไม่มีเซลล์รับสีในเซลล์รูปกรวยเลย เรียกว่า ภาวะตาบอดสีทุกสี ซึ่งหมายความว่า คนที่เป็นภาวะนี้จะไม่สามารถรับรู้สีอะไรได้เลย แต่เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก คนที่เซลล์รับสีเขียวบกพร่อง จะตาบอดสีแดง/เขียว ซึ่งทำให้ไม่สามารถแยกความแตกต่างของเฉดสีแดง, น้ำตาล, เขียว และส้มได้

 

ใครคือคนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นตาบอดสี?
ถึงแม้ว่าตาบอดสีอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือกรรมพันธุ์ คนที่เป็นตาบอดสีส่วนใหญ่ได้รับถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมจากพ่อหรือแม่ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ของภาวะตาบอดสี ประกอบด้วย :
– โรคเบาหวาน – โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (AMD)
– โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS)
– ภาวะความบกพร่องทางสายตาอื่นๆ เช่น ต้อกระจก (เลนส์ตาเป็นฝ้ามัว) หรือต้อหิน (กลุ่มอาการผิดปกติของดวงตาที่ทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลาย)
– การบาดเจ็บที่ดวงตา ความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน ความเสื่อมตามวัย
– ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์มักจะเป็นทั้งสองตา แต่ก็มีน้อยรายที่เป็นแค่ตาเดียว

วิธีการทดสอบตาบอดสี
วิธีการทดสอบตาบอดสี ในการทดสอบตาบอดสี ทำได้โดยการใช้แผ่นภาพทดสอบตาบอดสี หรือใช้วิธีการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อดูว่าเป็นตาบอดสีประเภทใด และมีความรุนแรงระดับไหน แผ่นภาพอิชิฮะระ (Ishihara Test) คือแบบทดสอบตาบอดสีที่เป็นที่นิยมใช้กัน แพทย์จะให้ผู้ป่วยดูภาพจากสมุดภาพที่มีสีปนกันอยู่ แล้วให้แยกแยะสีจากภาพ แผ่นภาพประกอบด้วยกลุ่มของจุดวงกลมต่างสีต่างขนาด โดยมีตัวเลข หรือรูปร่าง ที่มีสีแตกต่างปนอยู่ในกลุ่มจุดสีนั้น ผู้ป่วยที่เป็นตาบอดสีจะต้องพยายามอย่างยากลำบากในการแยกแยะสีเพื่อมองตัวเลขหรือรูปร่างที่อยู่ท่ามกลางจุดสีนั้น หรือบางรายก็ไม่สามารถมองเห็นตัวเลขหรือรูปร่างได้เลย 

 

แบบทดสอบตาบอดสี

ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12

 

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29

ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข70

ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3

ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5

ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74

ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21

ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45

ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 7

ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 73

ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45

ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42
ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้

ตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้

ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้

ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้

ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง

ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้

ตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้

ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง

 

ควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3-6 เดือน  ซึ่งรวมถึงการตรวจภาวะตาบอดสีด้วยนะคะ

Copyright © 2017. KT OPTIC All rights reserved.