ดวงตา มีกระบวนการทำงานอย่างไรถึงทำให้เรามองเห็นได้อย่างไร

 

 

ดวงตา ทำให้เรามองเห็นได้อย่างไร

     การทำงานของ ดวงตา เรารับสัญญาณปริมาณมากจากบริเวณรอบๆ ส่งสัญญาณไปที่สมองทำให้เราเห็นรูปร่าง สี องค์ประกอบและความเคลื่อนไหว

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการที่แสงส่องผ่านเลนส์ตา และส่งสัญญานผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมองได้อย่างไร

1.แสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ดวงตาเรา

2.แสงวิ่งทะลุผ่านกระจกตา สู่รูม่านตา และทะลุผ่านเลนส์ตา

3.กระจกตาและเลนส์ตาจะเบี่ยงเบนแสงให้ตกที่จอประสาทตา

4.เซลล์จอประสาทตาจะเปลี่ยนลำแสงให้เป็นคลื่นไฟฟ้า

5.คลื่นไฟฟ้าจะวิ่งผ่านระบบประสาทของตาไปสู่สมอง

6.สมองจะทำการแปลผลสัญญาณนี้ให้กลายเป็นภาพ

หน้าที่ของดวงตา

ดวงตาทำหน้าที่เกือบทุกอย่างที่คุณทำ และนี่คือหน้าที่หลักๆของดวงตา

การมองเห็น – ดวงตาเปลี่ยนแสงให้กลายเป็นคลื่นไฟฟ้าและส่งไปที่สมอง ซึ่งจะแปลผลกลายเป็นภาพให้เรามองเห็น

การเคลื่อนไหว – กล้ามเนื้อตาทั้ง 6 มัดทำหน้าที่หมุนลูกตา 4 มัดหมุนขึ้น ลง ซ้าย ขวา อีก 2 มัดเพื่อปรับสมดุลจากการขยับศีรษะ

การกระพริบตา – ทุกครั้งที่คุณกระพริบตา น้ำตาจะฉาบไปที่บริเวณผิวด้านนอกของดวงตาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและทำความสะอาดดวงตา กล้ามเนื้อที่เปลือกตาบนจะทำหน้าที่เปิด-ปิดตา

การร้องไห้ – น้ำตา-ของเหลวที่มีความเค็มประกอบด้วยโปรตีน น้ำ เมือก และ น้ำมัน ถูกหลั่งออกมาจากต่อมน้ำตาที่ด้านบน ด้านนอกของดวงตา น้ำตาจะคอยปกป้องสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น ควันและลม น้ำตาจากความรู้สึก ตอบสนองต่อความรู้สึก ยินดี หรือ เสียใจ เคยมีทฤษฎีกล่าวไว้ว่า “การร้องไห้ที่ดี” ช่วยขจัดสารพิษและของเสียออกจากร่างกายได้

การปกป้อง – ลูกตาอยู่ภาพในกระดูกเบ้าตาเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิด ขนตาและเปลือกตา คอยป้องกันฝุ่นและสิ่งสกปรก คิ้วมีลักษณะโค้งเพื่อไล่เหงื่อให้ออกจากดวงตา

โครงสร้างของดวงตา

เพื่อดูการทำงานของดวงตา ดังนั้นการรู้โครงสร้างและส่วนประกอบถือเป็นเรื่องที่มีประโยชน์

รูป 1

 

 

 

 

 

 

รูป 2
รูป 3
รูป 4

ส่วนประกอบต่างๆ

ด้านล่างนี้คือองค์ประกอบของดวงตา และอธิบายถึงหน้าที่คร่าวๆที่ทำให้คุณมองเห็น

ตาขาว – ส่วนที่เป็นสีขาว คอยปกป้องลูกตาและคงสภาพให้เป็นทรงกลมอยู่

รูม่านตา – รูสีดำตรงกลางตา ทำหน้าที่ให้แสงผ่าน

ม่านตา – ส่วนที่มีสีสันของดวงตา ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่รูม่านต

กระจกตา – เป็นส่วนที่โค้งใส ทำหน้าที่ปกป้องม่านตาและรูม่านตา ทำงานเช่นเดียวกับเลนส์ทำหน้าที่เบี่ยงเบนแสงให้ตกที่บริเวณหลังสุดของลูกตา

เลนส์ตา – แผ่นดิสก์ใส วางตัวอยู่หลังม่านตา

จอตา – ส่วนหลังสุดของลูกตาประกอบด้วยเซลล์รับแสงจำนวนมากกว่าล้านตัว (ทำหน้าที่แปลงแสงเป็นคลื่นไฟฟ้า) สัญญาณจะถูกส่งไปที่สมองผ่านระบบประสาทตา ซึ่งจะแปลผลเป็นภาพในที่สุด

จอประสาทตา – จุดเล็กๆตรงกลางของจอตา ซึ่งเป็นจุดที่เห้นชัดที่สุด

น้ำวุ้นช่องลูกตาหลัง – เหมือนเจลลี่ อยู่กลางลูกตา เพื่อคงสภาพและรูปร่างของลูกตา

ประสาทตา – เส้นประสาทที่อยู่หลังลูกตาทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากจอตาไปสู่สมอง

เยื่อบุตา – ชั้นเยื่อบุบางๆที่คอยปกป้องและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา อยู่ใต้เปลือกตา บนสุดของลูกตา

น้ำวุ้นช่องลูกตาหน้า – ของเหลวใส อยู่ในช่องว่างระหว่างม่านตาและกระจกตา เพื่อคงสภาพความดันตาและทำให้ลูกตาด้านหน้ายังกลมอยู่

ข้อมูล CR.Essilor อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.essilor.co.th

 

 

 

 

Copyright © 2017. KT OPTIC All rights reserved.